18 January 2014

ทำอย่าไรให้นักเรียนนับถือครู

Kru Ban Nok ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่

1. สร้างความสนิทสนมกับนักเรียน

c แสดงความเอาใจใส่ในเรื่องของนักเรียน

c มีเวลาให้กับนักเรียน

c มีอารมณ์ขันและสร้างความสนุกสนานให้นักเรียน

kroobannok_04

2. สร้างเสริมนักเรียนให้ประสบผลสำเร็จ

c กำหนดแนวทางประพฤติปฏิบัติให้นักเรียนถือเป็นกิจวัตรในสถานการณ์ต่าง ๆ

c อภิปรายกำหนดพฤติกรรมที่คาดหวังทุกครั้งก่อนนักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ

c ร่วมให้ข้อเสนอแนะที่ครูเห็นว่านักเรียนจะสนุกสนานหรือพึงพอใจที่จะปฏิบัติตาม

c ช่วยนักเรียนให้ตอบคำถามหรือปฏิบัติได้ถูกต้อง  เช่น  การบอกใบ้คำเฉลย  ส่งสัญญาณแสดงเป็นนัย  เพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จต่อหน้าเพื่อนคนอื่น ๆ

c เสริมสร้างความมั่นใจ  ความมุ่งมั่น  ที่จะประพฤติปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น ๆ โดยการให้กำลังใจ  ยกย่องสิ่งที่นักเรียนทำถูก  ทำดี  ทำเหมาะสม

c เอาใจใส่  มุ่งเน้นที่ความเพียรพยายามของนักเรียน อย่าเน้นที่ความถูกผิด หรือการปรับปรุง  แก้ไขมาก  ถ้านักเรียนส่งงานที่เขาตั้งใจทำอย่างดีที่สุดแล้ว  ครูควรภูมิใจ

c ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนหรือโฮมรูม  ครูควรหาโอกาสชี้ให้นักเรียนเห็นความก้าวหน้าของตนเป็นระยะ ๆ

c ประกาศและย้ำเตือนความเชื่อมั่นของครูในศักยภาพของนักเรียน  ให้นักเรียนได้รู้ว่าครูมีความศรัทธา  เชื่อถือในความสามารถของเขาเพียงใด

c หากมีสิ่งใดที่เกิดความผิดพลาด  ไม่เป็นดังที่คิด  กรุณาตั้งสติและระลึกเสมอว่า    “เรามาเป็นครูทำไม”  (เพราะเรารักเด็กและปรารถนาจะช่วยให้เขาเรียนรู้เติบใหญ่เป็นคนดีของสังคม)

3. ช่วยนักเรียนที่ประพฤติปฏิบัติผิดพลาดให้ได้เรียนรู้วิธีการที่เหมาะสมถูกต้องกว่าเดิม

c ปฏิบัติต่อนักเรียนที่ประพฤติผิดพลาด  หรือมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์  ด้วยการยอมรับนับถือในตัวบุคคลของเขา  ปฏิบัติต่อเขาอย่างที่ครูอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนเอง ช่วยให้เขาปฏิบัติให้ดีขึ้น  เป็นผู้ชี้แนะไม่ใช่บงการซึ่งอาจกระทำได้โดย

ç “พูดคุย”  กับนักเรียน  ไม่ใช่ “พูดใส่” นักเรียน

ç รักษาน้ำเสียงให้อยู่ในระดับของการพูดคุยสนทนา  แม้ว่าคุณจะรู้สึกฉุนเฉียว

ç หลีกเลี่ยงการเทศนาสั่งสอนเกี่ยวกับความเป็นไปของชีวิต

ç แสดงการควบคุมตนเองอย่างที่ครูปรารถนาจะทำให้เด็กรู้จักควบคุมตนเอง

ç อย่ากระทำอะไรต่อนักเรียนอย่างที่ครูไม่อยากให้ใครทำต่อตน

ç แยกพฤติกรรมออกจากตัวนักเรียน  (เรารักเด็ก  แต่รังเกียจพฤติกรรมนั้นๆ)

ç กรณีที่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น  อย่าหาผู้ผิดหรือจับผิด  ระบุให้ชัดว่าสิ่งใด  ที่ยอมรับได้  สิ่งใดที่ยังต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น

ç ค้นวิธีการแก้ปัญหา  อย่าหาทางตำหนิกล่าวโทษหรือลงโทษ

ç ช่วยนักเรียนให้แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม  หรือเป็นที่ยอมรับมากขึ้น  โดยการสอนแนะนำ  แสดงบทบาทสมมุติ  กระตุ้นเตือนให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ ออกมาเสมอ ๆ  พร้อมให้รางวัลและให้กำลังใจ

 

¤ ตราบใดที่นักเรียนรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า

¤ ตราบใดที่นักเรียนรู้สึกว่าได้รับการยอมรับนับถือ

¤ ตราบใดที่นักเรียนรู้สึกว่าได้รับการต้อนรับอย่างดี

¤ ตราบนั้นนักเรียนจะประพฤติดีขึ้น   และแสดงความเคารพนับถือครูอย่างจริงใจ

No comments:

Post a Comment